เมนู

อรรถกถาอุปักกิเลสสูตร



อุปักกิเลสสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตทโวจ ความว่า มิใช่กราบทูล
ด้วยความประสงค์จะให้แตกแยกกัน และมิใช่เพื่อจะประจบ แท้จริง ภิกษุนั้น
ได้ความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้เชื่อฟังเราแล้ว จักงดเว้น และธรรมดา
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงมุ่งอนุเคราะห์เพื่อประโยชน์สถานเดียว พระองค์จัก
ตรัสบอกเหตุอย่างหนึ่งแก่ภิกษุเหล่านี้เป็นแน่ ภิกษุเหล่านั้นฟังเหตุเหล่านั้นแล้ว
จักงดเว้น แต่นั้นภิกษุเหล่านั้น จักอยู่อย่างผาสุก. เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นจึง
กราบทูลคำมีอาทิว่า อิธ ภนฺเต ดังนี้. ในบทเป็นต้นว่า มา ภณฺฑนํ พึง
เติมปาฐะที่เหลือว่า อกตฺถ เป็นต้นเข้าไปด้วย แล้วถือเอาความอย่างนี้ว่า
มา ภณฺฑนํ อย่าทำการขัดแย้งกัน. บทว่า อญฺญตโร ความว่า ได้ยินว่า
ภิกษุนั้น มุ่งประโยชน์ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า คือได้ยินว่า ภิกษุนั้นมีความ
ประสงค์อย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ ถูกความโกรธครอบงำแล้ว จะไม่เชื่อฟัง
คำสอนของพระศาสดา ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า เนื้อกล่าวสอนภิกษุเหล่านี้อยู่
อย่าทรงลำบากเลยดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงกราบทูลอย่างนี้.
บทว่า ปิณฺฑาย ปาวิสิ ความว่า มิใช่เสด็จเข้าไปเพื่อบิณฑบาต
อย่างเดียว แต่ได้ทรงอธิฏฐานพระหฤทัยว่า คนที่เห็นเราแล้ว จงเข้าเฝ้าเรา.
ถามว่า ทรงอธิฏฐานเพื่อประโยชน์อะไร.
ตอบว่า เพื่อทรงทรมานภิกษุเหล่านั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
กลับจากบิณฑบาตโดยอาการอย่างนั้นแล้ว ตรัสคาถามีอาทิว่า ปุถุสทฺโท
สมชโน
ดังนี้แล้ว เสด็จออกจากกรุงโกสัมพีตรงไปยังพาลกโลณการคาม.

แต่นั้นเสด็จไปในปาจีนวังสมิคทายวัน ต่อนั้นเสด็จเข้าไปยังชัฏป่าชื่อว่าปาริเลย-
ยกะ. อันช้างตัวประเสริฐชื่อปาริเลยยกะบำรุงอยู่ ประทับอยู่ตลอดไตรมาส.
แม้ชาวพระนครคิดว่า พระศาสดาเสด็จเข้าไปสู่วิหารแล้ว พวกเราจะไปฟังธรรม
แล้ว ถือของหอมดอกไม้ตรงไปยังวิหาร ถามว่า ท่านเจ้าข้า พระศาสดาเสด็จ
ไปไหน. ภิกษุทั้งหลายบอกว่า พวกท่านจะเฝ้าพระศาสดาได้ที่ไหน พระองค์
เสด็จมาด้วยหวังว่า จักเกลี่ยกล่อมภิกษุเหล่านี้ให้สามัคคีกัน แต่ไม่อาจทำให้
สามัคคีกันไค้ จึงเสด็จออกไปแล้ว. พวกชาวเมืองทั้งหมดพากันคาดโทษว่า
พวกเราจะเสียเงินทั้งร้อยหรือพัน ก็ไม่สามารถจะนำพระศาสดามาได้ ถึงพวกเรา
จะไม่กราบทูลวิงวอน พระองค์ก็จะเสด็จมาเอง เพราะอาศัยภิกษุเหล่านี้ ทำให้
พวกเราไม่ได้สดับธรรมกถาเฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ ภิกษุเหล่านั้น บวช
เจาะจงพระศาสดา แม้เมื่อพระองค์ทรงกระทำให้สามัคคีกัน ก็ไม่ยอมสมัครสมาน
สามัคคีกันเช่นนี้ จะเชื่อฟังใครเล่า พอกันที พวกเราอย่าถวายภิกษาแก่ภิกษุ
เหล่านี้. ครั้นวันรุ่งขึ้น ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวไปบิณฑบาต ทั่วทั้งพระนคร
ไม่ได้ภิกษาแม้สักทัพพีเดียว กลับวิหารแล้ว. แม้พวกอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย
กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอีกว่า พวกเราจะลงทัณฑกรรมเช่นนี้แหละแก่ท่านทั้งหลาย
จนกว่าพวกท่านจะให้พระศาสดาทรงอดโทษ. ภิกษุเหล่านั้นคิดว่า พวกเรา
จักให้พระศาสดาอดโทษ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่ทันเสด็จถึงพระนคร
สาวัตถี ได้ไปรอคอยอยู่ในเมืองสาวัตถีแล้ว พระศาสดาทรงแสดง เภทกรวัตถุ
18 ประการ แก่ภิกษุเหล่านั้นแล้ว ในเรื่องนี้มีข้อความตามที่กล่าวไว้ในบาลี-
มุตตกะเพียงเท่านี้.
บัดนี้จะวินิจฉัยในคาถามีอาทิว่า ปุถุสทฺโท ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า
ปุถุสทฺโท เพราะอรรถว่า มีเสียงดัง เสียงใหญ่ทีเดียว. บทว่า สมชโน
ได้แก่ คนที่เหมือนกัน คือคล้าย ๆ คน คนเดียวกัน ท่านอธิบายว่า คน

ผู้ทำการแตกร้าวกันทั้งหมดนี้ มีเสียงดังด้วย มีเสียงคล้ายกันด้วย โดยการ
เปล่งเสียงดังลั่นไปรอบ ๆ. บทว่า น พาโล โกจิ มญฺญถ ความว่า
ในคนเหล่านั้น ไม่มีใครแม้แต่คนเดียว ที่จะสำคัญคนว่า เราเป็นคนพาล
ทุก ๆ คนเข้าใจตนว่า เป็นบัณฑิตทั้งนั้น. บทว่า นาญฺญํ ภิยฺโย อมญฺญรุํ
ได้แก่ ไม่มีใคร ๆ แม้คนเดียว สำคัญตนว่า เราเป็นพาล อธิบายว่า เมื่อสงฆ์
แตกกัน ต่างก็มิได้สำคัญเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ให้ยิ่งขึ้นไป คือไม่สำคัญถึงเหตุ
นี้ว่า สงฆ์แตกกันเพราะเราเป็นเหตุ. บทว่า ปริมุฏฺฐา แปลว่า มีสติหลงลืม.
บทว่า วาจาโคจรภาณิโน นี้ ท่านอาเทส ราอักษร ให้เป็น ร อักษร
ความก็ว่า พูดตามอารมณ์ ไม่มีสติปัฏฐานควบคุม ได้แก่พูดพล่อย ๆ. บทว่า
อายิจฺฉนฺติ มุขายานํ ได้แก่ พูดไปเพียงเพื่อปรารถนาจะดีฝีปาก อธิบายว่า
แม้ภิกษุรูปเดียว ก็ไม่ยอมสงบปาก ด้วยความเคารพในสงฆ์. บทว่า เยน นีตา
ความว่า อันความทะเลาะใด นำไปสู่ความเป็นคนหน้าด้านนี้. บทว่า น ตํ วิทู
ความว่า ไม่รู้ถึงเหตุนั้นว่า การทะเลาะนี้ มีโทษอย่างนี้. บทว่า เย จ ตํ
อุปนยฺหนฺติ
ความว่า คนเหล่าใดเข้าไปผูกโกรธเขา มีอาการเป็นต้นว่า
ผู้นี้ได้ด่าเราดังนี้. บทว่า สนฺตโน แปลว่า เป็นของเก่า. บทว่า ปเร
ความว่า ยกเว้นบัณฑิตทั้งหลายเสียแล้ว ผู้ก่อการทะเลาะเหล่าอื่น ชื่อว่า
คนเหล่าอื่นจากบัณฑิตนั้น คนเหล่านั้น เมื่อก่อการทะเลาะกันในท่ามกลางสงฆ์นี้
ย่อมไม่รู้ว่าพวกเราจะย่อยยับ คือจะฉิบหายใกล้ตายเข้าไปทุกขณะมิได้ขาด.
บทว่า เย จ วิชานนฺติ ความว่า บรรดาคนเหล่านั้น คนเหล่าใดเป็น
บัณฑิต รู้ตัวว่า พวกเราอยู่ใกล้มัจจุดังนี้. บทว่า ตโต สมฺมนฺติ เมธคา
ความว่า ก็บัณฑิตเหล่านั้น รู้อยู่อย่างนี้ เกิดโยนิโสมนสิการ ย่อมปฏิบัติ
เพื่อความเข้าไปสงบระงับ ความบาดหมางและความทะเลาะ. คาถาว่า อฏฺฐิจฺฉิทา
เป็นต้นนี้มีมาในชาดก ท่านกล่าวหมายถึง พระเจ้าพรหมทัตและทีฆาวุกุมาร.

ในพระคาถานี้ มีใจความดังต่อไปนี้ แม้คนเหล่านั้น คือคนที่จองเวรกัน
ถึงปานนั้น ยังคืนดีกันได้ เหตุใดพวกเธอจึงไม่คืนดีกันเล่า. เพราะพวกเธอ
ยังไม่ถึงกับแช่งชักหักกระดูกกัน ยังไม่ถึงกับล้างผลาญชีวิตกัน ยังไม่ถึงกับ
ลักโค ม้า และทรัพย์กัน. ตรัสพระคาถามีอาทิว่า สเจ ลเภถ ดังนี้ไว้ เพื่อ
จะทรงแสดงคุณและโทษแห่งสหายที่เป็นบัณฑิต และสหายที่เป็นพาล. บทว่า
อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺสยานิ ความว่า พึงชื่นชม มีสติ เที่ยวไปกับ
สหายผู้คุ้มกันอันตรายทั้งที่ปรากฏและไม่ปรากฏได้นั้น. บทว่า ราชาว รฏฺฐํ
วิชิตํ ความว่า พึงเที่ยวไปเหมือนพระมหาชนก และพระเจ้าอรินทมมหาราช
ที่ทรงละแว่นแคว้น ซึ่งพระองค์ทรงรบชนะแล้ว เสด็จเที่ยวไปแต่ผู้เดียว.
บทว่า มาตงฺครญฺเญว ความว่า เหมือนช้างมาตังคะเที่ยวไปในป่า
ฉะนั้น. ช้างธรรมดาท่านเรียกว่า มาตังคะ. บทว่า นาโค นี้ เป็นชื่อของ
ช้างใหญ่. ท่านจึงกล่าวไว้ดังนี้ว่าเที่ยวไปแต่ผู้เดียว ไม่กระทำความชั่วทั้งหลาย
เหมือนช้างมาตังคะตัวเลี้ยงแม่ เที่ยวไปในป่าแต่ตัวเดียว ไม่กระทำความชั่ว
และเหมือนช้างปาริเลยยกะฉะนั้น. บทว่า พาลกโลณการคาโม ได้แก่
บ้านส่วยของอุบาลีคฤหบดี. ในบทว่า เตนุปสงฺกมิ นี้ มีคำถามว่า เสด็จ
เข้าไปทำไม.
ตอบว่า ได้ยินว่า พระองค์ทรงเห็นโทษในการอยู่เป็นหมู่ของท่าน
พระภคุนั้น ทรงปรารถนาจะเห็นภิกษุอยู่อย่างโดดเดี่ยว ฉะนั้นจึงเสด็จเข้าไป
ในพาลกโลณการคาม เหมือนคนถูกความหนาวเป็นต้นเบียดเบียนแล้ว
ปรารถนาความอบอุ่นเป็นต้น ฉะนั้น. บทว่า ธมฺมิยา กถาย ความว่า
ปฏิสังยุตด้วยอานิสงส์ในความอยู่โดดเดี่ยว.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเสด็จเข้าไปใน
ปาจีนวังสทายวันนั้น.

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเ จ้า ทรงมีพุทธประสงค์จะพบภิกษุทั้งหลาย
ผู้ก่อการทะเลาะกัน แล้วกลับอยู่ด้วยความสมัครสมานสามัคคีกัน หลังแต่เห็น
โทษของความทะเลาะนั้น เพราะฉะนั้นจึงเสด็จเข้าไปในปาจีนวังสทายวันนั้น
ดุจคนถูกความหนาวเป็นต้นเบียดเบียนแล้ว ปรารถนาความอบอุ่นเป็นต้น
ฉะนั้น. บทว่า อายสฺมา จ อนุรุทฺโธ เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.
บทว่า อตฺถิ ปน โว ความว่า พึงถามโลกุตตรธรรมด้วยคำถามครั้งหลังสุด.
ก็โลกุตตรธรรมนั้นไม่มีแก่พระเถระทั้งหลาย เพราะฉะนั้น การถามถึงโลกุตตร-
ธรรมจึงไม่สมควรเลย เพราะฉะนั้นท่านจึงถามถึงโอภาสแห่งบริกรรม.
บทว่า โอภาสํเยว สญฺชานาม ได้แก่ รู้สึกแสงสว่างแห่งบริกรรม.
บทว่า ทสฺสนญฺจ รูปานํ ได้แก่รู้ชัดการเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ. บทว่า
ตญฺจ นิมิตฺตํ น ปฏิวิชฌาม ความว่า ก็โอภาสและการเห็นรูป
ของข้าพระองค์ทั้งหลาย ย่อมหายไปด้วยเหตุใด ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ยังไม่รู้ซึ้งซึ่งเหตุนั้น. บทว่า ตํ โข ปน โว อนุรุทฺธา นิมิตฺตํ
ปฏิวิชฺฌิตพฺพํ
ความว่า พวกเธอควรรู้เหตุนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงปรารภเทศนานี้ ด้วยคำนี้อาทิว่า อหํปิ สุทํ ดังนี้ ก็เพื่อจะทรงแสดงว่า
ดูก่อนอนุรุทธะ พวกเธอหม่นหมองอยู่หรือหนอ แม้เราก็เคยหม่นหมองมาแล้ว
ด้วยอุปกิเลส 11 ประการเหล่านี้. ในบทว่า วิจิกิจฺฉา โข เม เป็นต้น ความ
ว่า พระมหาสัตว์ เจริญอาโลกกสิณแล้วเห็นรูปมีอย่างต่าง ๆ ด้วยทิพยจักษุ
จึงเกิดวิจิกิจฉาว่า นี้อะไรหนอ นี้อะไรหนอ. บทว่า สมาธิ จวิ ความว่า
บริกรรมสมาธิจึงเคลื่อน. บทว่า โอภาโส ความว่า แม้โอภาสแห่งบริกรรม
ก็หายไป คือไม่เห็นรูปแม้ด้วยทิพยจักษุ. บทว่า อมนสิกาโร ความว่า
วิจิกิจฉาย่อมเกิดแก่ผู้ที่เห็นรูป คือเกิดอมนสิการว่า บัดนี้เราจะไม่ใส่ใจอะไร ๆ.
บทว่า ถีนมิทฺธํ ความว่า เมื่อไม่ใส่ใจถึงอะไร ๆ ถีนมิทธะก็เกิดขึ้น. บทว่า
ฉมฺภิตตฺตํ ความว่า ภิกษุเจริญอาโลกกสิณ มุ่งหน้าไปทางหิมวันตประเทศ

ได้เห็นสัตว์ต่าง ๆ เช่นยักษ์ ผีเสื้อน้ำ และงูเหลือมเป็นต้น ที่นั้น ความหวาด
เสียวเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ. บทว่า อุพฺพิลํ ความว่า เมื่อภิกษุคิดว่า สิ่งที่เรา
เห็นว่าน่ากลัว เวลาแลดูตามปกติย่อมไม่มี เมื่อไม่มี ทำไมจะต้องไปกลัวดังนี้
ความตื่นเต้นก็หมดไป. บทว่า สกึเทว ความว่าพึงพบชุมทรัพย์ 5 ชุม ด้วย
การขุดค้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น. บทว่า ทุฏฺฐุลฺลํ ความว่า ความเพียรอัน
เราประคองไว้อย่างมั่นคง ได้ถูกความตื่นเต้นที่เกิดแก่เรานั้น กระทำให้ย่อ
หย่อน. แต่นั้นจะมีแต่ความกระวนกระวาย. บทว่า กายทุฏฺฐุลฺลํ ความว่า
ความกระวนกระวายคือภาวะที่ร่างกายเกียจคร้านก็เกิดขึ้น. บทว่า อจฺจารทฺ-
ธวิริยํ
ความว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไป เกิดแล้วแก่ภิกษุผู้เริ่มตั้งความ
เพียรใหม่ ด้วยคิดว่า ความตื่นเต้นทำความเพียรของเราให้ย่อหย่อน ความ
ชั่วร้ายจึงเกิดขึ้นได้. บทว่า ปตเมยฺย แปลว่า พึงตาย. บทว่า อติลีนวิริยํ
ความว่าเมื่อเราประคองความเพียร ก็เป็นอย่างนี้ เมื่อทำความเพียรย่อหย่อน
ความเพียรที่หย่อนยาน ก็เกิดขึ้นได้อีก.
บทว่า อภิชปฺปา ความว่า เมื่อเราเจริญอาโลกกสิณ มุ่งตรงเฉพาะ
เทวโลก เห็นหมู่เทวดา ตัณหาก็เกิดขึ้น. บทว่า นานตฺตสญฺญา ความว่า
เมื่อเราเจริญอาโลกกสิณ มุ่งตรงเฉพาะเทวโลกตามกาล แล้วใส่ใจถึงรูปมีอย่าง
ต่าง ๆ กัน ด้วยคิดว่า เมื่อเราใส่ใจถึงรูปที่มีกำเนิดอย่างเดียวกัน ตัณหา
กระซิบหูเกิดขึ้นแล้ว เราจะใส่ใจถึงรูปมีอย่างต่าง ๆ ดังนี้ ความสำคัญสภาวะว่า
ต่างกันก็เกิดขึ้น.
บทว่า อตินิชฺฌายิตตฺตํ ความว่า เมื่อเราใส่ใจถึงรูปมีอย่างต่าง ๆ
กัน ความสำคัญสภาวะว่าต่างกันก็เกิดขึ้น เมื่อเราตั้งใจว่า จะใส่ใจถึงรูปที่มี
กำเนิดอย่างเดียวกัน จะน่าปรารถนาหรือไม่ก็ตามที แล้วใส่ใจอย่างนั้น รูปที่
มีการเพ่งเล็งเกินไปเป็นลักษณะก็เกิด.

บทว่า โอภาสนิมิตฺตํ มนสิกโรมิ ความว่า เราได้มีความรู้ดังนี้
ว่า เราใส่ใจแต่แสงสว่างแห่งบริกรรมอย่างเดียว. บทว่า น จ รูปานิ ปสฺสามิ
ความว่า เราไม่เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ. บทว่า รูปนิมิตฺตํ มนสิกโรมิ ความว่า
เราใส่ใจถึงรูปที่เป็นอารมณ์เท่านั้น ด้วยทิพยจักษุ.
บทว่า ปริตฺตญฺเจว โอภาสํ ได้แก่ แสงสว่างในพระกัมมัฏฐาน
นิดหน่อย. บทว่า ปริตฺตานิ จ รูปานิ ได้แก่ รูปในพระกัมมัฏฐานนิด
หน่อย. บัณฑิตพึงทราบทุติยวาร โดยปริยายตรงกันข้าม. บทว่า ปริตฺโต
สมาธิ
ได้แก่ โอภาสแห่งบริกรรมนิดหน่อย. แต่ในที่นี้ ท่านกล่าวบริกรรม
สมาธิว่า นิดหน่อยดังนี้ หมายถึงแสงสว่างเล็กน้อย. บทว่า ปริตฺตํ ตสฺมึ
สมเย
ความว่า ในสมัยนั้น แม้ทิพยจักษุ ก็มีเล็กน้อย. แม้ในอัปปมาณวาร
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อวิตกฺกํปิ วิจารมตฺตํ ได้แก่ สมาธิในทุติยฌานในปัญจกนัย.
บทว่า อวิตกฺกํปิ อวิจารํ ได้แก่ สมาธิในหมวด 3 แห่งฌาน ทั้งในจตุกกนัย
ทั้งในปัญจกนัย. บทว่า สปฺปีติกํ ได้แก่ สมาธิในทุกฌาน และติกฌาน.
บทว่า นิปฺปีติกํ ได้แก่ สมาธิในทุกทุกฌาน. บทว่า สาตสหคตตํ
ได้แก่ สมาธิในติกจตุกกฌาน. บทว่า อุเปกฺขาสหคตํ นี้ ในจตุกกนัยได้
แก่ สมาธิในจตุตถฌาน ในปัญจกนัยได้แก่ สมาธิในปัญจมฌาน.
ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเจริญสมาธิมีอย่าง 3 นี้ ในเวลาไหน.
ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่ง ณ ควงมหาโพธิพฤกษ์ ทรง
เจริญสมาธิอย่างนี้ในปัจฉิมยาม.

ก็ปฐมมรรค ได้เป็นองค์ประกอบแห่งปฐมฌานแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทุติยมรรคเป็นต้น ก็ได้เป็นองค์ประกอบแห่งทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถ-
ฌาน. ในปัญจกนัย ปัญจมฌานไม่มีมรรค. คำว่า มรรคนั้น จัดเป็นโลกี
นี้ ท่านกล่าวหมายถึงมรรคที่เจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระ. คำที่เหลือในบททั้ง
ปวง ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาอุปักกิเลสสูตรที่ 8

9. พาลบัณฑิตสูตร



[467] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำรัสแล้ว.
[468] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ลักษณะเครื่องหมาย เครื่องอ้าง ว่าเป็นพาลของคนพาลนี้มี 3 อย่าง 3 อย่าง
เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลในโลกนี้มักคิดความคิดที่ชั่ว มักพูด
คำพูดทีชั่ว มักทำการทำที่ชั่ว ถ้าคนพาลจักไม่เป็นผู้คิดความคิดที่ชั่ว พูด
คำพูดที่ชั่ว และทำการทำที่ชั่ว บัณฑิตพวกไหนจะพึงรู้จักเขาได้ว่า ผู้นี้เป็น
คนพาล เป็นอสัตบุรุษ เพราะคนพาลมักคิดความคิดที่ชั่ว มักพูดคำพูดที่ชั่ว
และมักทำการทำที่ชั่ว ฉะนั้น พวกบัณฑิตจึงรู้ได้ว่า นี้เป็นคนพาล เป็น
อสัตบุรุษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแล ย่อมเสวยทุกข์โทมนัส
3 อย่างในปัจจุบัน.
[469] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนพาลนั่งในสภาก็ดี ริมถนนรถก็ดี
ริมทางสามแพร่งก็ดี ชนในที่นั้น ๆ จะพูดถ้อยคำที่พอเหมาะพอสมแก่เขา ถ้า
คนพาลมักเป็นผู้ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มัก
ประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มีปกติตั้งอยู่ในความประมาทเพราะดื่มน้ำเมา
คือสุราและเมรัย ในเรื่องที่ชนพูดถ้อยคำที่พอเหมาะพอสมแก่เขานั้น แล
คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า สภาพเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเราก็ปรากฏใน
สภาพเหล่านั้นด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมเสวยทุกข์ โทมนัสข้อ
ที่หนึ่งนี้ในปัจจุบัน.